บทที่ 5
จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา
1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
1. การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2. การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรืออาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ
ตัวอย่างของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ (Dreamer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )
2. อธิบายความหมายของ
1.1 Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆเป็นอย่างมาก
สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเองหรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง
1.2 Cracker หมายถึง บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัวมีความหมายเดียวกับ
Hacker แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ
1.3 สแปมม้าโทรจัน
เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทาตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป
เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทาการเรียกขึ้นมาทางาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว
ก็จะเริ่มทาลายตามที่โปรแกรมมาทันที มักถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมล์
หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ต
2.4 สปายแวร์
หมายถึง โปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา
เพื่อสร้างความราคาญให้ผู้ใช้งาน เช่น หน้า Pop Up โฆษณา
3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย
ICT
หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทาผิดและบทลงโทษ
มา 5 ตัวอย่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี “ระบบคอมพิวเตอร์”
เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้
เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต
โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ
เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด
หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย
การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว
ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา
และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
-
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
-
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทีผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
-
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
-
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
-
การทําให้เสียหาย
ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
-
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
-
การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด
-
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
-
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา
แล้วเราแอบเข้าไปดู
-
จำคุก 6 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ข้อมูลของเขา
เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
-
จำคุกไม่เกิน 2
ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว
แล้วเราไปดักจับข้อมูลของเขา
-
จำคุกไม่เกิน 3
ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ
เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan
หรือ
worm
หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาใช้งานไม่ได้
-
จำคุกไม่เกิน 5
ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา
เราดันมือบอนไปแก้ข้อมูลของเค้า
-
จำคุกไม่เกิน 5
ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ